วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Research Science Provision for Early Childhood

Name of research 👉 ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ โดยการใช้ศิลปะบูรณาการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล
Website 👉 http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/46469/1/5483321927.pdf
Conclusion 👉  
วัตถุประสงค์ 
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาลใน 4 ด้าน ได้แก่ -  ทักษะการสังเกต    
-  ทักษะการจำแนก 
-  ทักษะการวัด 
-  ทักษะการสื่อความหมาย 
        อีกทั้งเพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 
        ตัวอย่างประชากรคือเด็กอนุบาลปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1 จำนวน 38 คน  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 12 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการใจคือแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล
สรุปผลการวิจัย 
        ผลการวิจัยพบว่าหนึ่งการทดลองอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านสูงกว่าก่อนการทดลอง
Article Science Provision for Early Childhood

Name of article 👉 เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย
Conclusion 👉 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือการนำความรู้และกระบวนการ  ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์  ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

M
S = Science
T = Technology
E = Engineer
M = Math

       วิธีการจัดกิจกรรม เพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์                       มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ
1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ  
2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ  
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน 
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน 

       การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวันจะทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดกำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์ และทำให้คนทั่วไปมีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น กระบวนการจัดกิจกรรมนี้เรียกว่า " การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกิจกรรมบูรณาการและแบบโครงงาน (Project based learning) "
       การจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในอนาคต
Learning Log 8
Wednesday 17th October 2018

👉 ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มและคิดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ขอแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย 5 ฐาน ดังนี้
  • ฐานที่ 1 กิจกรรม ลูกโป่งพองโต
  • ฐานที่ 2 กิจกรรม "ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด
  • ฐานที่ 3 กิจกรรม Shape of Bub-Bub Bubble
  • ฐานที่ 4 กิจกรรม ปั๊มขวดและลิปเทียน
  • ฐานที่ 5 กิจกรรม เรือดำนำ 
💓 แผนการจัดกิจกรรมซึ่งประกอบด้วย 💓
1. ชื่อกิจกรรม ควรเป็นชื่อที่น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจ
2.วัตถุประสงค์ 
3.วัสดุอุปกรณ์
4.ขั้นตอนการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
5.ผลที่ได้รับ 



     จากนั้นนักศึกษาในชั้นเรียนช่วยกันร่างแผนโครงการวิทยาศาสตร์ โดยในแผนโครงการจะต้องประกอบด้วย 

1.ชื่อโครงการ
2.หลักการและเหตุผล
3.เวลาและสถานที่ /งบประมาณ
4.ตาราางการทำกิจกรรม
5.วิธีการประเมินผล
6.การแบ่งหน้าที่

👉 การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้เข้าเรียนสายแต่สามารถช่วยเพื่อเขียนโครงการวิทยาศาสตร์จนเสร็จค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเสมอค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีแล้วค่ะ

Learning Log 7
Wednesday 10th October 2018

👉 ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่เหลือนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ค่ะ 


กิจกรรมที่ 1 ฟองสบู่

การทดลอง
       เทน้ำ 1/4 ส่วนลงในกะละมัง ผสมกับน้ำยาล้างจาน 5 ช้อน คนส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำลวดมาดัดเป็นรูปทรงต่างๆ นำกำมะหยี่มาพันลวด เมื่อเสร็จล้วนำมาจุ่มในกะละมังที่ผสมน้ำยาล้างจานไว้
       จะเห็นว่า เมื่อเราเป่าลวดที่จุ่มในกะละมังจะมีฟองออกมา เพราะในน้ำยาล้างจานมีแรงตึงผิว

กิจกรรมที่ 2 ลูกโป่งพองโต
 การทดลอง 
      นำเบคกิ้งโซดาหยอดใส่ในลูกโป่งจากนั้นนำน้ำส้มสายชูใส่ในขวดน้ำปริมาณครึ่งขวด และนำลูกโป่งที่มีเบคกิ้งโซดามาครอบกับฝาขวดน้ำ
       เมื่อทดลองเสร็จจะเห็นว่า ลูกโป่งท่ปากขวดจะโตขึ้น เพราะเบคกิ้งโซดาเข้ามาผสมกับน้ำส้มสายชู ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกริยานี้ทำให้ลูกโป่งพองตัวขึ้น

กิจกรรมที่ 3 แยกเกลือกับพริกไทย

การทดลอง
       นำเกลือและพริกไทยใส่ในจานคนให้เข้ากัน จากนั้นนำช้อนมาถูกับผ้าขนสัตว์ และนำช้อนมาจ่อในจานที่ผสมเกลือและพริกไทยไว้ จะสังเกตุเห็นพริกไทยลอยขึ้นมาติดช้อน เพราะช้อนมีประจุไฟฟ้าเป็น ลบและบวก ส่วนผ้ามีประจุบวก ทำให้พริกไทยติดช้อน ปฏิกิริยานี้เียกว่าไฟฟ้าสถิตย์

กิจกรรมที่ 4 ภาพซ้ำไปมา
การทดลอง 
       วาดภาพนกใส่กระดาษนำมาระบายสีและตัด จากนั้นให้เด็กนำภาพมาเรียงต่อๆกันโดยไม่มีช่องว่าง

กิจกรรมที่ 5 ระฆังดำน้ำ
การทดลองที่ 1 
       นำขวดดจุ่มลงไปในแก้วน้ำจากนั้นเปิดฝาออก จะเห็นว่าน้ำเคลื่อนที่เข้าไปในขวดเพราะอากาศมีแรงดันและลอยตัวสูงเหนือแก้ว
การทดลองที่ 2
       นำเรือจำลองจุ่มลงในแก้วน้ำจากนั้นเปิดฝาออก จะเห็นว่าเรือไม่เปียกน้ำเพราะอากาศลอยขึ้สูงเหนือแก้วทำให้น้ำเข้าไปแทนที่ อากาศจึงดันเรือให้สูงขึ้น

👉 การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ  และพยายามตอบคำถามอาจารย์ค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทดลองอย่างละเอียดค่ะ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 6
Wednesday 3th October 2018

👉    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่เข้าเรียนนำเสนอการทดลองวิทยาศาตร์   "กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย"  ระหว่างนำเสนอการทดลองอาจารย์จะให้ให้คำแนะนำทีละขั้นตอน ก่อนการทดลองครูควรทำการทดลองในจุดที่นักเรียนสามารถมองเห็นได้ครบถ้วนทุกคนจริงจะเริ่มจัดกิจกรรม ดังนี้ 
         1.ครูควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองใส่ภาชนะให้เรียบร้อย  โดยเรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่ หากของชิ้นใดมีลักษณะเหมือนกัน 2 ชิ้น ครูควรมีป้ายกำกับหน้าของช้นนั้น ในขั้นการนี้ครูสามารถทำให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมเช่นถามเด็กว่า "เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะบ้าง "
         2.ครูบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมอย่างครบถ้วน หากชิ้นใดมีอันตรายครูควรบอกให้นักเรียนทราบและให้้เขาได้รู้ว่าหากอันตรายควรใช้อย่างไร
        3.ครูเริ่มทำกิจกรรมพร้อมกับเด็กในชั้นเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศษสตร์ ขั้นแรกคือ การตั้งสมตติฐาน ครูเชิญชวนใฆ้เด๋กตั้งสมมตืฐานจากอุปกรณ์ที่เห็นบนโต๊ะ    
        4.ระหว่างการทอลองครูควรมีชาร์ตสำหรับแสดงวิธีการทดลอง รวมถึงควรวาดภาพประกอบการทดลอง เพื่อเด็กๆจะได้จำเป็นรูปภาพ
        5. ในการสรุปผลการทดลอง ครูอาจให้เด็กๆวาดภาพในสิ่งที่เขาเห็นเพื่อประเมินความรู้ในตัวเด็ก

กิจกรรมที่ 1 ปั๊มขวดลิปเทียน


การทดลองที่ 1
     ครูให้นักเรียนเขย่าขวดที่ในขวดมีน้ำร้อนจากนั้นเทน้ำร้อนออก ครูหยอดสีลงในจานใบที่ 1 และคว่ำปากขวดลงบนจาน จะสังเกตเห็นว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะเคลื่อนที่เข้าไปในขวด ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
การทดลองที่ 2
     ครูเทน้ำสีในจานใบที่ 2 จากนั้นนำเทียนไขที่จุดไฟมาวางไว้ตรงกลางจานใบที่ 2 นำแก้วมาครอบเทียนที่จุดไว้ทำให้ไฟดับ ที่ไฟดับเพราะอุณหภูมิในแก้วสูงขึ้นทำให้อากาศสูงขึ้น น้ำถึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไปดับลง

กิจกรรมที่ 2 เมล็ดพืชเต้นระบำ


การทดลอง
     ใส่ถั่วเขียว 2 ช้อนตวง ลงในแก้วใบที่ 1 และใบที่ 2 จากนั้นเทน้ำเปล่าลงในแก้วใบที่ 1 ส่วนใบที่ 2 ให้ใช้โซดาแทนน้ำเปล่า
     จะเห็นว่า แก้วใบที่ 2 มีเมล็ดถั่วลอยขึ้นมา ส่วนใบที่ 1 ไม่มีปฏิกริยาใดๆ เนื่องจากโซดามีก๊าซที่มีน้ำหนักลอยกว่าน้ำ เมื่อเข้าไปใต้เมล็ดถั่วทำให้เมล็ดถั่วลอยขึ้น

กิจกรรมที่ 3 แรงตึงผิว
   

การทดลองที่ 1 เทน้ำใส่ลงไปในแก้วน้ำให้เต็มจนผิวน้ำนูนสูงขึ้น
การทดลองที่  2  ใช้หลอดดูดน้ำหยดลงบนฝาขวดจนเต็มและน้ำนูนสูงขึ้นมา 
การทดลองที่  3  ใช้หลอดยดน้ำบนเหรียญและน้ำนูนสูงขึ้น
การทดลองทั้ง 3 สรุปได้ว่าน้ำมีแรงตึงผิวทำให้น้ำไม่เอ่อล้นออกมา

กิจกรรมที่ 4 แสง ( การทดลองของนักศึกษา )



การทดลอง
       นำวัตถุ 2 ชิ้นมาวางหน้าฉาก และมีระยะห่างระหว่างวัตถุ จากนั้นนำไฟฉายส่องไปที่วัตถุทั้ง 2 ชิ้น และให้นักเรียนสังเกตุขนาดของเงา เงาจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงส่องไปยังวัตถุทึบแสง เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรง การตัดกันของความสว่างกับความมืดจะทำให้เกิดเงา เงาที่เกิดขึ้นหลังจากการนำไฟฉายส่งวัตถุทั้ง 2 ชิ้น ที่ตั้งห่างกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน วัตถุที่ตั้งใกล้แหล่งกำเนิดแสงจะมีเงาที่ใหญ่กว่า

กิจกรรมที่ 5 กระจกเงา
การทดลอง
       ให้วาดภาพใดก็ได้เพียงแค่ครึ่งภาพ และนำมาส่องกับกระจกจะเห็นภาพนั้นเต็มภาพเพราะกระจกมีเงาสะท้อน

กิจกรรมที่ 6 ไหลแรงหรือไหลอ่อน

การทดลอง
       นำขวดน้ำ เจาะรูข้างบนและข้างล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปทั้งสองรู และใส่นำให้เต็ม นำขวดมาวางในถาดดึงสก็อตเทปออก และให้นักเรียนสังเกตว่าน้ำจะออกจากรูไหนเร็วกว่ากัน
จากการทดลองจะเห็นว่า รูด้านล่างจะมีปรมิมาณน้ำออกจากขวดมากกว่า
    
กิจกรรมที่ 7 ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท


การทดลอง
       ปั้นดินน้ำมันเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋า และนำเส้นด้ายมาตัดจะได้หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นให้เด็กๆปั้นเป็ยรูปอะไรก็ได้ และน้ำเส้นด้ายมาตัดอีกครั้งและน้ำไปจุ่มกับสีในถาดและปั๊มลงบนกระดาษ

การทดลองที่ 8 ทำนองตัวเลข

การทดลอง
       ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส พับมุมทั้ง4 ให้เป็นสามเหลี่ยมเท่ากันทุกกด้านจากนั้นพลิกกระดาษและพับแบบเดิมนำสีมาระบายทั้ง 4 ช่อง เขียนเลข 1-4 การทดลองนี้เด็กๆได้ฝึการนับจำนวนและสี

การทดลองที่ 9 พับและตัด


การทดลอง
       หยดสีลงบนจุดกึ่งกลางของกระดาษ วางเส้นดายทาบลงบนเส้นจุดกึ่งกลางของกระดาษ ปิดกระดาษลงกดทับตรงที่หยดสีไว้ ให้ดึงด้ายลงมาตามเข็มนาฬิกาการดึงด้ายทำให้เกิดเป็นรูปภาพต่างๆขึ้นมา

การทดลองที่ 10 แสง สี และการมองเห็น

การทดลอง
       วาดภาพโดยใช้สี แดง เขียว น้ำเงินลงบนกระดาษ และนำแผ่นใสสีแดง เขียว น้ำเงิน มาเลื่อนบนภาพที่วาด จะเห็นได้ว่าถ้าใช้แผ่นใสสีใดสีหนึ่งในสามสีนี้ เราก็จะมองไม่เห็นภาพที่วาดเพราะเกืดการกลืนสี

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ควรวิเคราะห์การทดลองให้ละเลียอและควรมีความพร้อมในการทดลองให้มากกว่านี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพือนๆทุกคนตั้งใจในการนำเสนอค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำวิธีการทดลองได้ละเอียดและมีเทคนิกต่างๆที่สามารถนำไปใช้ในการสอนได้ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 5
Wednesday 19th September 2018

บ้านนักวิทยาศาสตร์
กิจกรรม : แสง สี และการมองเห็น
การทดลอง เงาของตุ๊กตาจะทอดยาวเมื่อไร
วัสดุอุปกรณ์ 
1. โคมไฟตั้งโต๊ะ
2. เทียนไข ไฟแช็ค และแผ่นกันความร้อน
3. ผนังสีขาว
4. วัตถุที่สร้างเงาได้ เช่น ตุ๊กตา



การทดลอง 
     ควรทำการทดลองในห้องมืด นำวัตถุสองชิ้นมาวางหน้าฉาก และมีระยะห่างระหว่างวัตถุ จากนั้นนำไฟฉายส่องไปที่วัตถุทั้งสองชิ้น และให้นักเรียนสังเกตุขนาดของเงา

สรุปผล
     เงาจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงส่องไปยังวัตถุทึบแสง เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรง การตัดกันของความสว่างกับความมืดจะทำให้เกิดเงา เงาที่เกิดขึ้นหลังจากการนำไฟฉายส่งวัตถุทั้ง 2 ชิ้น ที่ตั้งห่างกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน วัตถุที่ตั้งใกล้แหล่งกำเนิดแสงจะมีเงาที่ใหญ่กว่า

จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละประดิษฐ์สิ่งของจากฝาขวดน้ำ

เครื่องวัดทิศทางลม 


วัสดุอุปกรณ์
1. แผ่นซีดี
2. ฝาขวดน้ำ 6 ฝา
3. กาว
4. ลูกแก้ว
5. กระดาษแข็ง

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน 
1. การตั้งประเด็นปัญหา
2.การตั้งสมมติฐาน
3.การทดลอง
4.การสรุปผลการทดลอง
5. การอภภิปรายผล

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : พยายามคิดและวิเคราะห์ตามสิ่งที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีค่ะ