วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning Log 4
Wednesday 29th August 2018

👉 ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันพูดคุย และเสนอกิจกรรมที่เขาดิน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจ Blog ของนักศึกษาแต่ละคน พร้อมให้คำแนะนำในการปรับปรุง Blog ให้ดีขึ้นค่ะ

     💓 พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่แสดงออกในช่วงวัยนั้น มีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นขั้นบันได เช่นการคว่ำ การคืบ การคลาน การนั่ง การยืน การเดิน และการวิ่ง
     💓 การเล่นเป็นวิธีทำให้เกิดการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการลงมือทำ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

     💓 นักทฤษฏีพัฒนาการเด็กปฐมวัย
➤ ด้านบุคลิกภาพ - ซิกมันด์ ฟรอยด์
➤ ด้านร่างกาย - กีเซล
➤ ด้านสติปัญญา - บรูเนอร์ , ไวกอสกี้ . กาเย่ . เพียเจต์
➤ ด้านสังคม - มาสโลว์
➤ ด้านคุณธรรม - โครเบิร์ก

     💓 ขั้นอนุรักษ์ คือ การที่เด็กอยู่กับความคิดเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถใช้เหตุผลได้ดีเท่าที่ควร

💙 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 💙
ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องศึกษา
ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรอวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฏเกณฑ์
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ

     💓 ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งต่างๆรอบตัวที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
➤ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น เพื่อหาคำตอบมาแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยต้นเอง จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะเด็กในวัยนี้เป็ยวัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดในชีวิต สมองของเด็กในวัยนี้พัฒนามากถึง 80%  เพราะฉะนั้น กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นทักษะที่สำคัญของเด็กปฐมวัยเพราะจะส่งเสริมให้เด็กสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล เด็กสามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา พ่อแม่ ครู และผู้ปกครองควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองจากสิ่งรอบตัว เพราะเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ได้ดีโดยการลงมือกระทำ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

💓 ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 
➤ ทักษะการสังเกต 

➤ ทักษะการจำแนกประเภท
- ความเหมือน
- ความแตกต่าง เช่น เล็กกว่า , ใหญ่กว่า
- ความสัมพันธ์ร่วมกัน เช่น รถยนต์ - ถนน , เรือ - น้ำ

➤ ทักษะการวัด เช่น ใช้กระป๋องวัดปริมาณน้ำ/ถั่ว

➤ทักษะการสื่อความหมาย 
    ในทักษะควรใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์มาประกอบการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ความพันธ์ของข้อมูล โดยใช้กราฟแสดงความสัมพันธ์ เป็นต้น

➤ ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา 
     คือ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ เช่น ชี้ภาพสองมิติสามมิติ เป็นต้น

➤ ทักษะการคำนวณ 
- การนับจำนวณวัตถุ
- การบวกลบคูณหาร
- การนำจำนวณตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักณะต่างๆของวัตถุ

 💓 คุณสมบัติของบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
- มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
- ช่างสังเกต ช่างสงสัย คำถามมักใช้ 5W 1H
👉 5W 👈
Who 
What
Where
When
Why
👉 1H 👈
How 
- มีความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
- ความสามารถในการลงความเห็น

💓 องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
➤ สิ่งที่กำหนดให้ 
     เป็นสิ่งรำเร็จรูปที่กำหนดให้สังเกต / จำแนก / วัด / สื่อความหมาย /ลงความเห็น / หาความสัมพันธ์ / การคำนวณ เช่น วัตถุ สิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆ
➤ หลักการหรือกฏเกณฑ์
     เป็นข้อกำหนดในการแยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดใช้ เช่น ความเหมือน ความต่าง ความคล้ายคลึงหรือขัดแย้งกัน
➤ การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
     เป็นการพิจารณาส่วนประกอบที่กำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ แล้วทำการรวบรวมประเด็นสำคัญเพื่อหาข้อสรุป


👉 การประเมินผล
ประเมินตนเอง : พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนอย่างเต็มที่ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีแล้วค่ะ